เซลล์ คือ (คำว่า เซลล์ มาจากภาษาละตินที่ว่า cella ) ผู้ตั้งชื่อนี้คือโรเบิร์ต ฮุก (Robert Hooke) โดยแมตเทียส จาคอบ ชไลเดน (Matthias Jakob Schleiden) และ ทีโอดอร์ ชวานน์ (Theodor Schwann) ได้อธิบายว่า สิ่งมีชีวิตทั้งหมดประกอบด้วยเซลล์หนึ่งเซลล์หรือมากกว่า เซลล์ทั้งหมดมีกำเนิดมาจากเซลล์ที่มีมาก่อน (preexisting cells) ระบบการทำงานเพื่อความอยู่รอดของสิ่งที่มีชีวิตทั้งหมดเกิดขึ้นภายในเซลล์ และภายในเซลล์ยังประกอบด้วยข้อมูลทางพันธุกรรม (hereditary information) ซึ่งจำเป็นสำหรับการควบคุมการทำงานของเซลล์ และการส่งต่อข้อมูลทางพันธุกรรมไปยังเซลล์รุ่นต่อไป
"พอเราทราบแล้วว่าเซลล์คืออะไร ต่อไปเราไปดูเลยว่าเซลล์พืชและเซลล์สัตว์คืออะไร"
เซลล์พืช
เซลล์พืช คือ หน่วยย่อยพื้นฐานที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า และเป็นหน่วยที่เล็กที่สุดของสิ่งมีชีวิต สิ่งมีชีวิตบางชนิดอาจประกอบขึ้นจากเซลล์เพียงหนึ่งเซลล์ จึงทำให้มีขนาดเล็กและมีโครงสร้างไม่ซับซ้อน แต่สิ่งมีชีวิตบางชนิดก็อาจประกอบขึ้นจากเซลล์จำนวนมาก โดยมีโครงสร้างและหน้าที่แตกต่างกัน โดยเซลล์พืชมีส่วนประกอบดังนี้
1. ผนังเซลล์ (Cell wall)
เป็นส่วนที่อยู่ชั้นนอกสุดของเซลล์ จะพบในเซลล์พืช แต่ไม่พบในเซลล์สัตว์ เป็นโครงสร้างที่กำหนดขอบเขต และรูปร่างของสิ่งมีชีวิต มีหน้าที่เพิ่มความแข็งแรง ค้ำจุนโครงสร้างของเซลล์ ทำให้เซลล์คงรูป และป้องกันการสูญเสียน้ำของเซลล์พืช ในผนังเซลล์ประกอบด้วยเซลลูโลส (Cellulose) และเพกติน (Pectin)
2. เยื่อหุ้มเซลล์ (Cell membrane)
ประกอบด้วยฟอสโฟลิพิด (Phospholipid bilayer) และโปรตีนเป็นส่วนมาก ทำหน้าที่ห่อหุ้มส่วนที่เป็นของเหลวและออร์แกเนลล์ภายใน ทั้งยังเป็นเยื่อเลือกผ่าน ควบคุมการเข้าออกของสารต่าง ๆ จากสิ่งแวดล้อมเข้าสู่เซลล์
3. นิวเคลียส (Nucleus)
มีลักษณะค่อนข้างกลม ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของเซลล์ และการถ่ายทอดพันธุกรรมจากพ่อแม่ไปสู่ลูกหลาน
4. ไซโทพลาซึม(Cytoplasm)
เป็นของเหลวที่อยู่ภายในเซลล์ ประกอบด้วยออร์แกเนลล์ และสารประกอบต่าง ๆ เช่น น้ำตาล โปรตีน ไขมัน
5. ร่างแหเอนโดพลาซึม (Endoplasmic Reticulum)
แบ่งออกเป็นแบบผิวเรียบและผิวขรุขระ แบบผิวเรียบจะไม่มีไรโบโซม ขณะที่แบบผิวขรุขระจะมีไรโบโซมเกาะอยู่ โดยไรโบโซม(Ribosome) นี้เป็นแหล่งสร้างโปรตีน และทำหน้าที่ส่งโปรตีนออกไปยังนอกเซลล์
6. แวคิวโอล (Vacuole)
เป็นถุงขนาดใหญ่ที่พบในเซลล์พืช มีเยื่อหุ้มเพียงชั้นเดียว ทำหน้าที่เก็บของเหลว น้ำ สารอินทรีย์และอนินทรีย์ เช่น น้ำตาล กรดอินทรีย์ แทนนิน
7. คลอโรพลาสต์ (Chloroplast)
พบเฉพาะในเซลล์พืช มีสีเขียวเพราะมีพลาสติดที่สะสมรงควัตถุสีเขียวอยู่ภายใน นั่นคือคลอโรฟีล (Chloroohyll) ทำหน้าที่ช่วยในการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช
8. ไมโทคอนเดรีย (Mitochondria)
มีขนาดใหญ่ มีรูปร่างยาว กลมรี ทำหน้าที่หายใจระดับเซลล์ (กระบวนการที่น้ำตาลกลูโคสถูกเปลี่ยนเป็น ATP ซึ่งเป็นพลังงานที่เซลล์นำไปใช้ในการทำกิจกรรมต่าง ๆ)
เซลล์สัตว์
เซลล์สัตว์ คือ ส่วนที่เล็กที่สุดของสัตว์ ซึ่งภายในเซลล์ประกอบด้วยออร์แกเนลล์ต่าง ๆ ซึ่งเซลล์สัตว์จะมีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างจากเซลล์พืชและเซลล์อื่น โดยส่วนประกอบของเซลล์สัตว์ ประกอบไปด้วย
เยื่อหุ้มเซลล์ (Cell membrane)
พบในเซลล์สิ่งมีชีวิตทุกชนิด ยกเว้นไวรัส เยื่อหุ้มเซลล์ทำให้เซลล์คงรูปอยู่ได้ และเป็นเยื่อเลือกผ่าน คือ มีคุณสมบัติยอมให้สารบางชนิดผ่านเข้าออกเท่านั้น ควบคุมการเข้าออกของสารต่าง ๆ จากสิ่งแวดล้อมเข้าสู่เซลล์ เยื่อหุ้มเซลล์ประกอบด้วย ฟอสโฟลิพิด (Phospholipid bilayer) โปรตีน คาร์โบไฮเดรต และคอเลสเตอรอล
นิวเคลียส (Nucleus)
มีลักษณะค่อนข้างกลม อยู่บริเวณกลางเซลล์ ประกอบด้วยเยื่อหุ้มนิวเคลียส และนิวคลีโอพลาซึมซึ่งเป็นส่วนที่อยู่ภายในเยื่อหุ้มนิวเคลียส นิวเคลียสทำหน้าที่ควบคุมการทำงานต่าง ๆ ภายในเซลล์ แบ่งเซลล์ และบรรจุสารพันธุกรรม DNA
ไซโทพลาซึม (Cytoplasm)
อยู่ระหว่างนิวเคลียสและเยื่อหุ้มเซลล์ ประกอบด้วยส่วนที่เป็นของเหลว เรียกว่าไซโทซอล (Cytosol) และส่วนที่เป็นของแข็ง เรียกว่า ออร์แกเนลล์ (Organelle)
ร่างแหเอนโดพลาซึม (Endoplasmic Reticulum, ER)
แบ่งออกเป็นชนิดผิวเรียบและผิวขรุขระ ชนิดผิวเรียบ (Smooth Endoplasmic Recticulum, SER) จะไม่มีไรโบโซมเกาะ ทำหน้าที่สร้างไขมัน กำจัดสารพิษ ส่วนชนิดผิวขรุขระ (Rough endoplasmic recticulum, RER) จะมีไรโบโซมเกาะอยู่ ทำหน้าที่สร้างโปรตีน และส่งโปรตีนออกนอกเซลล์
ไรโบโซม (Ribosome)
เป็นแหล่งสร้างโปรตีน และทำหน้าที่ส่งโปรตีนออกไปยังนอกเซลล์ มี 2 หน่วยย่อย ประกอบด้วยหน่วยใหญ่และหน่วยเล็ก แต่ละหน่วยจะมี Ribosomal RNA (rRNA)
เซนทริโอล (Centrioles)
เป็นออร์แกเนลล์ที่ไม่มีเยื่อหุ้ม มีลักษณะเป็นแท่งรูปทรงกระบอก ภายในกลวง ประกอบด้วยหลอดเล็ก ๆ ที่เชื่อมต่อกัน เรียกว่า ไมโครทิวบูล (microtubule) เซนทริโอลมี DNA และ RNA สามารถจำลองตัวเองและสร้างโปรตีนขึ้นเองได้ เซนทริโอลมีหน้าที่เกี่ยวกับการแบ่งเซลล์ ส่วนไมโครทูบูลมีหน้าที่ในการลำเลียงสารในเซลล์ ให้ความแข็งแรง และช่วยในการเคลื่อนที่ของเซลล์
ไลโซโซม (Lysosome)
เป็นออร์แกเนลล์ที่มีเยื่อหุ้มเพียงชั้นเดียว มีลักษณะเป็นถุง ทำหน้าที่ย่อยสลายอนุภาค โมเลกุลสารอาหารภายในเซลล์ ทำลายเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่เซลล์ และทำลายเซลล์ที่ตายแล้ว
ไมโทคอนเดรีย (Mitochondria)
เป็นแหล่งผลิตสารพลังงานสูง คือ ATPเกี่ยวข้องกับการสลายอาหารหรือการหายใจระดับเซลล์แบบใช้ออกซิเจน เป็นออร์แกเนลล์ที่ประกอบด้วยเยื่อหุ้ม 2 ชั้น มีของเหลวภายในเรียกว่า matrix ภายในมี DNA และไรโบโซมเป็นของตัวเอง
กอลจิบอดี (Golgi Body) หรือกอลจิคอมเพล็กซ์ (Golgi Complex)
มีลักษณะเป็นถุงแบน ๆ วางซ้อนกัน ทำหน้าที่รับสาร เก็บสารต่าง ๆ ภายใน ตัดแต่งหรือต่อเติมโปรตีนให้สมบูรณ์ แล้วเคลื่อนย้ายไปสู่จุดหมายปลายทางต่าง ๆ ทั้งภายในเซลล์และภายนอกเซลล์
"พอเราทราบแล้วว่าเซลล์พืชและเซลล์สัตว์เป็นยัง เรามาดูความแตกต่งเลยดีกวา"
ความแตกต่างของเซลล์พืชและเซลล์สัตว์
เซลล์พืชจะมี -ลักษณะเป็นเหลี่ยม
-มีผนังเซลล์อยู่ภายนอกเยื่อหุ้มเซลล์
-มีคลอโรพลาสต์
-ไม่มีเซนทริโอล
-มีแวคิวโอลขนาดใหญ่
-ไม่มีไลโซโซม
-มีผนังเซลล์อยู่ภายนอกเยื่อหุ้มเซลล์
-มีคลอโรพลาสต์
-ไม่มีเซนทริโอล
-มีแวคิวโอลขนาดใหญ่
-ไม่มีไลโซโซม
เซลล์สัตว์จะมี -ลักษณะกลม หรือรี
-ไม่มีผนังเซลล์มีแต่เยื่อหุ้มเซลล์
-ไม่มีคลอโรพลาสต์
-มีเซนทริโอล
-มีแวคิวโอลขนาดเล็ก
-มีไลโซโซม
*อ้างอิงมาจากhttp://www.trueplookpanya.com
https://sites.google.com
https://th.wikipedia.org